
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
พระบรมรูปของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ
เป็นรูปหล่อขนาดสองเท่าขององค์จริงประทับนั่งบนแท่นพระหัตถ์ซ้ายถือดาบประจำตำแหน่งเจ้าพระยาจักรี
ทั้งฝักวางบนพระเพลาซ้าย
และทรงวางพระหัตถ์ขวาบนพระเพลาขวา
อ่านต่อ
>>>
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
วัดธรรมโฆษก
(วัดโรงโค) เป็นวัดที่สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอุทัย
ตำบลอุทัยใหม่ใกล้กับตลาดเทศบาล
เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒนสัตยาของข้าราชการเมืองอุทัยธานี
และเป็นลานประหารนักโทษ
อ่านต่อ
>>>
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
วัดอุโบสถาราม
เดิมชื่อวัดโบสถ์มโนรมย์
ชาวบ้านเรียกว่าวัดโบสถ์
เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมลำน้ำสะแกกรังในเขตเทศบาลเมือง
จากตลาดสดเทศบาล
มีสะพานข้ามแม่น้ำไปยังวัดอุโบสถาราม
ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ
สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่
จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์และวิหาร
เป็นภาพเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
อ่านต่อ
>>>
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
เขาสะแกกรัง
อยู่ชานเมืองด้านทิศตะวันตกของตัวเมืองอุทัยธานี
เป็นเขารู้จักกันดีในเรื่องการตักบาตรเทโวที่มีพระเดินลงมาจากเขา
นี่แหล่ะคือเขาสะแกกรัง
ข้างบนเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม
มีพระบรมรูปสมเด็จพระมหาชนก
อ่านต่อ
>>>
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
ลำน้ำสะแกกรัง
ไหลผ่านตัวจังหวัดอุทัยธานี
มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า
ในสมัยก่อน
เมื่อพ่อค้าล่องเรือผ่านมา
จะรู้ได้ว่าถึงบ้านสะแกกรังแล้ว
โดยเฉพาะในเดือนยี่ถึงเดือนสามจะสังเกตได้ชัดเจน
ต้นสะแกจะออกดอกเล็ก
ๆ
ช่อยาวสีเขียวอมเหลืองห้อยลงมาริมน้ำ
อ่านต่อ
>>> |
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
วัดจันทราราม
ตั้งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
วัดสังกัสรัตนคีรี
ตั้งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง
สุดถนนท่าช้าง
ในเขตเทศบาลเมือง
ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานี
มีประวัติว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ
ให้นำพระพุทธรูปขนาดย่อมที่ชำรุดไปไว้ตามหัวเมืองต่างๆ
สำหรับเมืองอุทัยธานีได้รับ
๓ องค์
โดยอัญเชิญลงแพมาขึ้นฝั่งที่ท่าพระ
(ตรงข้ามศาลาประชาคมจังหวัดอุทัยธานี)
แล้วนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดขวิด
พระพุทธรูปองค์หนึ่งมีขนาดใหญ่เป็นพระเนื้อสำริดปางมารวิชัย
หน้าตักกว้าง ๓ ศอก
สร้างในสมัยพระเจ้าลิไท
ฝีมือช่างสุโขทัยยุค
๒
มีส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์
เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันก่อนนำมาไว้ที่เมืองอุทัยธานี
ต่อมาเมื่อยุบวัดขวิดไปรวมกับวัดทุ่งแก้ว
จึงได้ย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ไปไว้ที่วัดสังกัสรัตนคีรี
ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไป
๑ กิโลเมตร
และได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียร
พร้อมกับถวายนามว่า
พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์
ในวันแรม ๑
ค่ำเดือน ๑๑
ของทุกปีจะมีประเพณีตักบาตรเทโว
โดยพระสงฆ์ประมาณ
๕๐๐
รูปจะเดินลงบันไดจากยอดเขาสะแกกรังมารับบิณฑบาตที่ลานวัดเป็นประเพณีที่สำคัญของจังหวัด
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
วัดมณีสถิตย์กปิฏฐาราม
ตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรสถิตย์หลังสวนสุขภาพ
ตรงวงเวียนหอนาฬิกา
เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์
ชาวเมืองเรียกกันว่าวัดทุ่งแก้ว
ในวัดนี้มีพระปรางค์ใหญ่อยู่องค์หนึ่ง
ฐานกว้าง ๘ เมตรสูง ๑๖
เมตร
ลักษณะเป็นปรางค์ห้ายอด
สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒
ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
และเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อแย้มผู้สร้างวัดนี้
บริเวณวัดมีสระน้ำก่ออิฐเป็นสระน้ำมนต์ขนาดใหญ่
กลางสระมีแผ่นศิลาอักขระยันต์ของหลวงพ่อแย้มฝังเอาไว้
น้ำในสระแห่งนี้เคยใช้เป็นน้ำสรงพุทธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๖
และรัชกาลที่ ๗
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
พระแสงดาบศัสตราวุธประจำเมืองอุทัยธานี
สมัยรัชกาลที่
๕
เป็นพระแสงดาบที่จังหวัดอุทัยธานีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือถึงเมืองอุทัยธานี
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙
พระแสงดาบนี้พระราชทานแก่จังหวัดอุทัยธานีเป็นลำดับที่
๓ (อันดับ ๑
เมืองอยุธยา
อันดับ ๒
เมืองชัยนาท)
พระแสงดาบศัสตราวุธ
เป็นดาบไทยทำด้วยเหล็กสีขาวอย่างดี
ปลายแหลม
คมด้านเดียว
มีน้ำหนักเบา
สันเป็นลาย
ฝังงาในเนื้อเหล็กรูปดอกไม้ร่วง
และริมสันทั้งสองข้างมีลายทองเป็นรูปก้านขด
โคนตรงกลางมีจารึกนามอักษร
พระแสงสำหรับเมืองอุไทยธานี
ด้ามพระแสงทำด้วยไม้เนื้อแข็งหุ้มทองลงยา
โคนเป็นลายกนกตาอ้อย
ปลายด้ามเป็นรูปจุฑามณีบัวคว่ำ
๓ ชั้น
ประดับด้วยพลอย
ต้นฝักพระแสงทำด้วยทองคำเป็นรูปรักร้อยประดับพลอย
มีกาบกนกหุ้มต้นฝักทำด้วยทองคำเป็นลายก้านขด
ช่อดอกแกมใบประดับพลอย
ตัวฝักพระแสงทำด้วยทองคำดุน
ฝักทั้งสองข้างมีลวดลายต่างๆ
สวยงามมาก
นับเป็นศิลปกรรมฝีมือเยี่ยมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และเป็นพระแสงดาบสำคัญประจำเมืองอุทัยธานี
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่คลังจังหวัดอุทัยธานี
จะนำออกให้ชมเฉพาะในงานพระราชพิธีเท่านั้น
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
เกาะเทโพ
เดิมเป็นแหลมยื่นออกมาคั่นระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรัง
แม่น้ำทั้งสองสายจะมาบรรจบกันทางทิศใต้ของแหลม
และมีการขุดคลองเชื่อมทางเหนือในภายหลัง
เพื่อให้แม่น้ำเจ้าพระยามาหนุนแม่น้ำสะแกกรังในยามน้ำแล้ง
แหลมนี้จึงกลายเป็นเกาะเทโพ
ที่เกาะเทโพนี้เป็นจุดที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ชอบปั่นจักรยานท่องเที่ยว
หลังจากข้ามสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างตลาดสดเทศบาลและวัดอุโบสถาราม
ซึ่งไม่ยาวนักและขนาดเล็กเพียงรถมอเตอร์ไซค์สวนกันได้
ก็นับเป็นการเริ่มต้นการเดินทางบนเกาะเทโพ
บรรยากาศสองข้างจะเป็นป่าไผ่
ไร่ข้าวโพด
และทุ่งนาให้บรรยากาศที่สงบร่มรื่น
ชาวบ้านที่นี่ทำสวนส้มโอ
มีทั้งพันธุ์มโนรมย์
และขาวแตงกวา
และยังปลูกมะไฟด้วย
เมื่อผ่านบ้านท่าดินแดงจะเห็นเสื่อลำแพนวางขายอยู่
ชาวบ้านใช้ต้นไผ่ที่มีอยู่หนาแน่นในพื้นที่นำมาสานเสื่อ
และวางขายกันที่หน้าบ้าน
ไม่ได้ส่งตลาด
หากเดินทางต่อไปถึงวัดภูมิธรรม
ก็จะมีศาลาให้นั่งพักตากลมได้
บรรยากาศในวัดเงียบสงบ
เมื่อปั่นจักรยานครบรอบเส้นทางที่กำหนดไว้ก็จะถึงท่าเรือที่จะข้ามไปวัดท่าซุงได้
รวมระยะทางปั่นจักรยานบนเกาะทั้งหมด
๓๓ กิโลเมตร
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
วัดพระแก้ว
เป็นจุดที่ค้นพบพระแก้วมรกต
และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตเป็นเวลา
45 ปี ก่อนที่จะเอิญไปยังเชียงใหม่
วันนี้แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดป่าเยี้ย
หลังพระอุโบสถมีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งซึ่งได้พังลงมาแล้วได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทององค์หนึ่งตกลงมาจากเจดีย์จึงได้อัญเชิญไปไว้วิหารหลวงได้
2 เดือน ต่อมาปูนกระเทาะออกจึงเห็นเป็นแก้วสีเขียวทั้งองค์
หลังจากนั้นวัดนี้จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า
วัดพระแก้ว
ปัจจุบันเจดีย์องค์ดังกล่าวได้รับการบูรณะใหม่เป็นเจดีย์หุ้มทองจังโก๋เหลืองอร่ามทั้งองค์
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
วัดพระแก้ว
เป็นจุดที่ค้นพบพระแก้วมรกต
และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตเป็นเวลา
45 ปี ก่อนที่จะเอิญไปยังเชียงใหม่
วันนี้แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดป่าเยี้ย
หลังพระอุโบสถมีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งซึ่งได้พังลงมาแล้วได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทององค์หนึ่งตกลงมาจากเจดีย์จึงได้อัญเชิญไปไว้วิหารหลวงได้
2 เดือน ต่อมาปูนกระเทาะออกจึงเห็นเป็นแก้วสีเขียวทั้งองค์
หลังจากนั้นวัดนี้จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า
วัดพระแก้ว
ปัจจุบันเจดีย์องค์ดังกล่าวได้รับการบูรณะใหม่เป็นเจดีย์หุ้มทองจังโก๋เหลืองอร่ามทั้งองค์
|