
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
วัดถ้ำเขาวง
เป็นเขาขนาดใหญ่อยู่ในตำบลบ้านไร่
อยู่ห่างจากอำเภอ ๑๒
กิโลเมตร
ไปตามทางหลวงหมายเลข
๓๐๑๑
จะผ่านทางโค้งศาลเจ้าพ่อเขารักแล้วมาตัดกับสามแยกให้เลี้ยวขวาไปประมาณ
๖ กิโลเมตร
จะมีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เขาวง
ประมาณ ๘ กิโลเมตร
จะถึงทางแยก
เข้าไปประมาณ ๓๐๐
เมตร
เป็นทางลูกรัง
ซึ่งขึ้นสูงชันและลาดทีละน้อย
เส้นทางอ้อมโค้งเป็นหน้าผาต้องไต่ไปตามซอกเขา
ตัววัดเป็นอาคาร
๔ ชั้น
มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทย
ใต้ถุนเป็นลานเอนกประสงค์รวมทั้งร้านขายของ
ชั้นที่ ๒ เป็นวิหาร
ชั้นที่ ๓ เป็นกุฏิ
ส่วนโบสถ์จะอยู่ชั้นที่
๔ สร้างด้วยไม้สัก
และไม้มะค่า
รวมทั้งไม้เก่าจากเรือนไทยแถวอยุธยา
อ่างทอง
หลังคานำมาจากลำพูน
ช่างที่เข้าตัวเรือน
รวมทั้งทำส่วนตัวเหงา
ป้านลม และจั่ว
มาจากอยุธยา
การจัดภูมิทัศน์ในวัดถือว่าสวยงาม
ฉากหลังเป็นเขาหินปูนสูงตระหง่าน
ด้านหน้ามีบ่อน้ำและสวนที่ตกแต่งด้วยหิน
ไม้ดัด และไม้ประดับ
มูลค่าในการก่อสร้างประมาณ
๓๐ ล้านบาท
ระหว่างทางเดินที่จะขึ้นไปชมถ้ำ
จะผ่านน้ำตกเทียมที่ดูเข้ากับบรรยากาศ
ที่เขาด้านหลังจะมีถ้ำอยู่
๗-๘ ถ้ำ
บางถ้ำเป็นที่นั่งวิปัสสนาสำหรับพระภิกษุ
บางถ้ำเป็นถ้ำค้างคาว
บางถ้ำมีหินงอกหินย้อยให้ชม
บนเขามีที่ราบกว้างมีต้นไม้หลายชนิด
เช่น ไม้ยาง ไม้มะค่า
ไม้เสลา เป็นต้น
มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่บ้าง
ยังมีหมูป่าลงมาในบางครั้ง
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
วนอุทยานถ้ำเขาวง
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดอุทัยธานี
เป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกติดกับอุทยานแห่งชาติพุเตย
จังหวัดสุพรรณบุรี
สภาพโดยทั่วไปเป็นภูเขาหินปูนสูงชันสลับซับซ้อน
มีความลาดชันมากกว่า
๓๕ เปอร์เซ็นต์
เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลผ่านอำเภอบ้านไร่จังหวัดอุทัยธานี
มีจุดที่น่าสนใจหลายจุด
ได้แก่
น้ำตกห้วยอ้ายเฒ่า |
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
ถ้ำพุหวาย
เป็นถ้ำขนาดใหญ่
ภายในถ้ำกว้างขวาง
มีหินงอกหินย้อย เช่น
รูปเจดีย์ อ่างน้ำ
ทางเข้าถ้ำอยู่บนไหล่เขาต้องเดินขึ้นไป
อากาศถ่ายเทได้สะดวก
มีโพรงทะลุถึงด้านตรงข้ามของภูเขา
มีค้างคาวอาศัยอยู่ ๙
ชนิด
ติดต่อคนนำทางทางได้บริเวณปากถ้ำ
ใช้เวลาเดินประมาณ ๑
ชั่วโมง
ทางด้านหลังของถ้ำพุหวาย
คือ
ถ้ำเทพมาลีหรือถ้ำพญานาค
เป็นถ้ำขนาดเล็กค่อนข้างลึกมีความสวยงามตามธรรมชาติของหินงอกหินย้อย
ยอดเขาพุหวาย สูง ๗๐๐
เมตรจากระดับน้ำทะเล
สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่กว้างไกลอย่างสวยงาม
บนสันเขามีสภาพเป็นป่าเต็งรังที่ค่อนข้างสมบูรณ์
การเดินทาง
จากทางหลวงหมายเลข
๓๐๑๑
แยกเข้าทางเดียวกับสวนห้วยป่าปก
และวัดถ้ำเขาวง
แต่ทางเข้าวนอุทยานจะอยู่เลยจากแยกเข้าวัดถ้ำเขาวงไปประมาณ
๓-๔ กิโลเมตร
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
ศูนย์แสดงและสาธิตการทอผ้าพื้นเมือง
(กลุ่มทอผ้าไพจิตต์)
ตั้งอยู่หลังวัดบ้านไร่
ติดกับโรงเรียนบ้านหน้าฝายบึงตาโพ
เลี้ยวเข้าซอยข้างโรงเรียนไป
๗๐๐ เมตร
เป็นกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ
รวมทั้งรับสอนด้วย
ลายที่ทอเป็นลายโบราณ
เช่นลายหมาน้อย
ลายขอหลวง
ลายขอคำเดือน
มีผลิตภัณฑ์จำหน่ายด้วย
เช่น มีทั้งผ้าซิ่น
ผ้าแต่ง ผ้าคลุมเตียง
ผ้าคลุมโต๊ะ
ผ้าตัดชุด หมอนขิด
ในบริเวณยังมีพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณอายุกว่าร้อยปี
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
วัดเขาวงพรหมจรรย์
ตั้งอยู่ตำบลวังหิน
เข้าทางเดียวกับวัดถ้ำเขาตะพาบแต่อยู่เลยมาประมาณ
๗ กิโลเมตร
และแยกเข้าซ้ายไปอีก
๑ กิโลเมตร
เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในหุบเขา
๒ ลูก
คือเขาวงและเขาพรหมจรรย์
มีถ้ำที่น่าสนใจอยู่หลายถ้ำ
เช่น
ถ้ำแจ้งมีแสงส่องถึง
ถ้ำงูเหลือมมีงูเหลือมอาศัยอยู่หลายตัว
ถ้ำน้ำมีน้ำขังตลอด
ช่วงแล้งน้ำถึงเข่าช่วงฝนน้ำถึงอก
ส่วนถ้ำเพชรถ้ำพลอย
มีหินงอกหินย้อย
เวลาสะท้อนแสงเป็นประกายแวววาวคล้ายเพชรพลอย
การเข้าชมถ้ำแก้วและถ้ำเพชรต้องมีคนนำทาง
ด้านขวามือมีชะง่อนหินสูงตั้งมณฑปขนาดเล็ก
และไหล่เขาสร้างอุโบสถสวยงาม
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
เขาถ้ำตะพาบ
เป็นเขาลูกเล็กอยู่ในพื้นที่ตำบลวังหิน
ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ
๕๖ กิโลเมตร
ตามทางหลวงหมายเลข
๓๓๓ (อุทัยธานี-บ้านไร่)
มีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข
๓๒๑๓
ที่จะไปอำเภอวัดสิงห์
๑๑
กิโลเมตรจะถึงเขาถ้ำตะพาบ
ถ้ำเขาตะพาบอยู่สูงจากระดับพื้นประมาณ
๑๐ เมตร
ในบริเวณเดียวกันมีถ้ำอีกหลายแห่ง
ทางด้านหน้าของถ้ำได้สร้างพระพุทธรูปและจัดเป็นเขตสังฆาวาส
ส่วนถ้ำที่อยู่ด้านหลังเลี้ยวขวามือเป็นถ้ำท้องพระโรง
ถ้ำแก้ว ถ้ำปราสาท
และถ้ำเรือ เป็นต้น
หากเลี้ยวซ้ายจะพบทางออกด้านหลังซึ่งเป็นทางไปสู่ถ้ำลึกที่มีบันไดลงไปถึงก้นถ้ำ
ตรงอุโมงค์หลังถ้ำมีหินรูปร่างคล้ายตะพาบ
และเคยพบเครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ถ้ำทุกแห่งจะมีไฟฟ้าส่องทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าชม
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอีมาด-อีทราย
อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา
จังหวัดอุทัยธานี
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ต.แก่นมะกรูด
ถือว่าอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ชาวเขาที่อยู่ที่นี่เป็นชาวกะเหรี่ยง
มีชีวิตที่สงบและเรียบง่าย
และยังคงเคร่งครัดในประเพณีดั้งเดิม
งานประเพณีที่น่าสนใจของที่นี่
เช่น งานไหว้เจดีย์
ซึ่งจะมีการรำวงรำดาบ
และงานไหว้ต้นโพธิ์
ฯลฯ
ญาติพี่น้องที่แยกย้ายจะกลับมารวมตัวกัน
ประเพณีทั้งสองนี้จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
กำหนดวันจัดงานจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของท้องถิ่น
เช่นเก็บเกี่ยวผลผลิตในท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว
และที่สำคัญหมู่บ้านนี้มีข้อห้ามในการเล่นการพนัน
และดื่มสุรา
ผู้มาเยือนสามารถพักค้างคืนที่บ้านชาวกะเหรี่ยง
ที่หมู่บ้านเจ้าวัดยางแดง
หรือบ้านพักในศูนย์วัฒนธรรมซึ่งในบริเวณมีพิพิธภัณฑ์ชาวเขาอยู่ด้วย
ติดต่อ โทร.(๐๕๖)
๕๑๒๐๒๖ ในเวลาราชการ
และมีงานหัตถกรรม
ผ้าทอพื้นเมือง
เครื่องจักสานไม้ไผ่
และสินค้าเกษตรตามฤดูกาลมาจำหน่าย
เช่น พริกแห้ง
การเดินทาง
จากอำเภอบ้านไร่ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข
๓๐๑๑ ประมาณ ๒๐
กิโลเมตร
สุดถนนลาดยาง
และไปต่อตามถนนลูกรังอัดอีก
๑ กิโลเมตร
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
น้ำตกผาร่มเย็น
สามารถมองเห็นได้จากริมถนน
เป็นสายน้ำสีขาวทิ้งตัวลงมาในป่าทึบอยู่เบื้องล่าง
ชาวอุทัยว่าที่นี่เป็นน้ำตกที่สวยที่สุดในจังหวัด
เพราะ
สายน้ำที่ไหลลงมานั้นเป็นสายบางๆตกลงมาตรงๆคล้ายสายฝน
โดยผ่านหน้าผาดินที่มีมอสสีเขียวเกาะอยู่เต็มไปหมด
ประกอบกับพื้นที่เป็นป่ารกครึ้ม
ทำให้คนที่ได้ยืนชมมีความรู้สึกชุ่มฉ่ำเย็นตามไปด้วย
ทางเดินเข้าสู่น้ำตกผาร่มเย็นใช้เวลาประมาณ
๒๐ นาที
ปกติเดินเองได้
แต่หากต้องการคนนำทางติดต่อได้ที่
อบต.เจ้าวัด
หรือสามารถติดต่อผ่านสวนห้วยป่าปก
รีสอร์ท โทร. (๐๕๖)๕๓๙๐๘๕
การเดินทาง
ตัวน้ำตกอยู่ในตำบลเจ้าวัด
อำเภอบ้านไร่
ห่างจากตัวอำเภอประมาณ
๑๔ กิโลเมตร
จากสามแยกอำเภอบ้านไร่เลี้ยวไปตามทางหลวงหมายเลข
๓๒๘๒ ประมาณ ๕๐๐ เมตร
และเลี้ยวซ้ายเข้าทางลาดยางข้างปั๊มน้ำมันปตท.
ตรงไปประมาณ ๑๔
กิโลเมตร
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
น้ำตกแม่ปาง
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
ถ้ำเกร็ดดาว
เลยจากศูนย์วัฒนธรรมบ้านอีมาด-อีทราย
ไปไม่ถึง ๑ กิโลเมตร
จะมีเส้นทางเดินเท้าต่อไปถ้ำเกร็ดดาวได้
จากปากถ้ำจะมีบันไดไม้ไผ่ทอดยาวลงไปในถ้ำ
เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่
ในถ้ำมีแท่งหินขนาดใหญ่
เมื่อถูกแสงจะเป็นประกาย
เพดานถ้ำเต็มไปด้วยค้างคาว
และชาวบ้านได้อาศัยขี้ค้างคาวไปทำเป็นปุ๋ยสำหรับใส่ไร่นา
สิ่งที่ต้องเตรียมไปด้วยเวลาเที่ยวถ้ำ
คือ ไฟฉาย
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
น้ำตกตาดดาว
เลยจากปากทางเข้าถ้ำเกร็ดดาวไปเล็กน้อย
ฟากตรงข้ามเป็นทางเข้าน้ำตกตาดดาว
ไหลผ่านโขดหินลงมาเป็นชั้นๆ
๙ ชั้น
บริเวณโดยรอบเป็นป่าสมบูรณ์
|
รายละเอียด
อ่านต่อ...
|
สวนพฤกษศาสตร์
เลยจากศูนย์วัฒนธรรมมาประมาณ
๕
กิโลเมตรจะถึงสวนพฤกษศาสตร์
มีสภาพเป็นเหมือนธรรมชาติ
ไม่ได้มีการตกแต่งให้มีความสวยที่ต่างไปจากสภาพธรรมชาติ
มีอากาศเย็นสบาย
ใช้เวลาเดินสบายๆประมาณ
๑ ชั่วโมง
ต้นไม้ที่อยู่ในสวนนี้เป็นไม้ท้องถิ่นพบในป่าบริเวณนี้
เป็นสวนที่มีความหลากหลายของพันธุ์พืช
พืชหลายชนิดมีประโยชน์
เช่น สะเดาป่า
นำผลและใบมาทำยาป้องกันแมลง
ต้นสบู่
นำผลแก่มาอาบน้ำ
สระผม ซักเสื้อผ้า
ลางจืด
มีสรรพคุณแก้เมา
บางอย่างก็มีพิษ
เช่น
ขนของต้นช้างร้องมีฤทธิ์ทำให้ให้คันหากโดนเข้าจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน
ยาน่อง
มียางที่เป็นพิษ
พรานสมัยก่อนนำมาทาที่ปลายลูกดอกเพื่อใช้ล่าสัตว์
เป็นต้น
|
|
|